สัญญาเช่ารถยนต์ของโตโยต้าเรนท์อะคาร์
การจัดการข้อมูลส่วนตัว
1
ผู้เช่า (รวมถึงผู้ที่ขอทำสัญญาเช่ารถยนต์) และ ผู้ขับขี่ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ตามลำดับ) ยินยอมที่จะให้บริษัทใช้ข้อมูลส่วนตัวของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ได้ สำหรับวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ :
- เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทให้บริการเช่ารถยนต์ตามคำแนะนำพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่เช่า (การเดินทางด้วยรถยนต์เลขที่ 138 วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ.1995 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “คำแนะนำพื้นฐาน”) เช่น การจัดเตรียมใบรับรองการเช่า ฯลฯ ;
- เพื่อระบุและกลั่นกรอง “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ;
- เพื่อแจ้ง “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ผ่านโฆษณาสิ่งพิมพ์, อีเมล ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์, กรมธรรม์ประกันภัย, โทรศัพท์มือถือและธุรกิจด้านอื่นๆของบริษัทหรือกิจกรรมประเภทต่างๆ, แคมเปญ ฯลฯ ซึ่งจัดโดยบริษัท; และ
- เพื่อดำเนินการทำแบบสำรวจสอบถามของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือศึกษามาตรการต่างๆเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
- เพื่อรวบรวม, วิเคราะห์, วางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงพิจารณาปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า ฯลฯ ตลอดจนทำการแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงาน เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ฯลฯ กับ “ผู้เช่า” โดยปรับปรุงข้อมูลส่วนตัวให้อยู่ในรูปแบบซึ่งไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้
2ผู้เช่า ยินยอมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของ “ผู้เช่า” ให้กับบุคคลที่สามภายในขอบเขตด้านล่างนี้ ทั้งนี้ “ผู้เช่า” อาจร้องขอให้บริษัทหยุดเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับบุคคลที่สามได้
- เนื้อหาของข้อมูลที่เปิดเผย : ข้อมูลเกี่ยวกับการให้เช่ารถยนต์ที่เช่า เช่น ชนิดและประเภทของรถยนต์ที่ใช้, วัตถุประสงค์ในการใช้, วันและเวลาในการเริ่มเช่า ฯลฯ และข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ, ที่อยู่ ฯลฯ ของ “ผู้เช่า”
- บุคคลที่จะเปิดเผยข้อมูลให้และจุดประสงค์ของการใช้ข้อมูลดังกล่าว : การส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการขายให้กับ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, บริการ ฯลฯ
บุคคลที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ |
ข้อมูลอะไรที่จะถูกนำไปใช้ |
โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชัน |
การส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการขายให้กับ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, บริการ ฯลฯ |
โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและบุคคลที่ได้ทำสัญญาการเปิดเผยข้อมูลกับโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชัน |
การดำเนินการทำแบบสำรวจสอบถามของ “ผู้เช่า” เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเช่ารถยนต์หรือเกี่ยวกับการบริการของบริษัทเพื่อที่จะใช้ข้อมูลสำหรับอ้างอิงในการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือในการปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า |
โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและบุคคลที่ได้ทำสัญญาแฟรนไชส์ของโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่งกับโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชัน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “สาขาโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่ง” |
อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของสัญญาเช่า การวางแผนมาตรการเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า และ การพัฒนาระบบแฟรนไชส์ที่ครอบคลุม |
บริษัทที่บริหารเส้นทางซึ่งมีค่าใช้จ่าย (ทางด่วน) ฯลฯ ที่ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ใช้งาน (ให้คำจำกัดความไว้ในข้อ 14 วรรค 4) |
ตอบสนองต่อการติดต่อสอบถามและร้องขอเกี่ยวกับค่าบริการเส้นทางซึ่งมีค่าใช้จ่าย (ทางด่วน) ฯลฯ ที่ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ยังไม่ได้ชำระ |
- บริษัทจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลส่วนตัวบนเว็บไซต์ของบริษัท ฯลฯ
URLhttp://www.toyota.co.jp/rent/
บทที่ 1 : บททั่วไป
ข้อ 1 (การบังคับใช้สัญญา)
- บริษัทให้ “ผู้เช่า” ทำการเช่ารถเช่า (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "รถยนต์ที่เช่า") ตามข้อกำหนดในสัญญาฉบับนี้ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "สัญญา") และข้อบังคับโดยละเอียด และ "ผู้เช่า" ทำการเช่าโดยได้เข้าใจ "สัญญา" และข้อบังคับโดยละเอียดแล้ว ทั้งนี้ เรื่องที่ไม่ได้กำหนดไว้ใน "สัญญา" และข้อบังคับโดยละเอียดจะถูกดำเนินการตามกฎหมายและข้อกำหนดหรือประเพณีปฏิบัติทั่วไป
- บริษัทอาจยอมรับสัญญาพิเศษถ้าหากว่าสัญญานั้นไม่ละเมิด “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด กฎหมายและข้อกำหนดและประเพณีปฏิบัติทั่วไป หากมีการทำสัญญาพิเศษให้สัญญาพิเศษนี้ทดแทนและเข้าแทนที่ “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด
บทที่ 2 : การจอง
ข้อ 2 (การสมัครเพื่อทำการจอง)
- สำหรับการเช่า “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” จะต้องทำการสมัครเพื่อทำการจองและตกลงตามตารางอัตราที่กำหนดโดยบริษัทและระบุล่วงหน้าถึงชนิดและประเภทของรถยนต์ที่ใช้, วัตถุประสงค์ในการใช้, วันและเวลาในการเริ่มเช่า, สถานที่ในการเช่า, ระยะเวลาในการเช่า, สถานที่ในการส่งคืนรถ, ผู้ขับขี่, ความจำเป็นของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรืออุปกรณ์อื่นๆ และ เงื่อนไขอื่นๆ สำหรับการเช่า (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “เงื่อนไขการเช่า” )
- เมื่อได้รับใบสมัครเพื่อทำการจองจาก “ผู้เช่า” บริษัทจะยอมรับการจองดังกล่าวภายในขอบเขตของ “รถยนต์ที่เช่า” ที่บริษัทเป็นเจ้าของและเงื่อนไขการเช่าต่างๆที่ได้รับอนุมัติในหลักการโดยบริษัทในกรณีดังกล่าว “ผู้เช่า” จะต้องชำระค่าสมัครให้กับบริษัทสำหรับการจองตามที่บริษัทกำหนดยกเว้นกรณีที่ได้รับการยกเว้นจากบริษัท
ข้อ 3 (การเปลี่ยนแปลงการจอง)
ในการเปลี่ยนแปลง “เงื่อนไขการเช่า” ใดๆ “ผู้เช่า” จะต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อน
ข้อ 4 (การยกเลิกการจอง)
- “ผู้เช่า” และบริษัทจะสรุปสัญญาเช่ารถยนต์สำหรับ “รถยนต์ที่เช่า” ภายในวันที่และเวลาเริ่มต้นของการเช่าที่กำหนดไว้ในข้อ 2 วรรค 1
- “ผู้เช่า” และบริษัทอาจจะยกเลิกการจองตามวิธีการที่กำหนดโดยบริษัทหากสัญญาเช่าของ “รถยนต์ที่เช่า” (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “สัญญาเช่า”) ยังไม่ได้รับการลงนามภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากเวลาเริ่มต้นของระยะเวลาการเช่า การจองจะถือว่าถูกยกเลิกไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดๆก็ตาม
- หากการจองถูกยกเลิกเนื่องจากสาเหตุของ “ผู้เช่า” “ผู้เช่า” จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการยกเลิกการจองตามที่บริษัทได้กำหนดให้กับบริษัทและบริษัทจะดำเนินการคืนเงินค่าสมัครเพื่อทำการจองให้กับ “ผู้เช่า” ในเวลาเดียวกันที่ได้รับค่าธรรมเนียมการยกเลิกการจอง
- หากการจองถูกยกเลิกเนื่องจากสาเหตุของบริษัท บริษัทจะจ่ายเบี้ยปรับตามที่บริษัทได้กำหนดให้กับ “ผู้เช่า” นอกเหนือจากการคืนเงินค่าสมัครเพื่อทำการจองที่บริษัทได้รับมาจาก “ผู้เช่า”
- หากไม่สามารถสรุป “สัญญาเช่า” ได้เนื่องจากสาเหตุอื่นๆที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในวรรค 2 ข้างต้น การจองจะถือว่าถูกยกเลิกในกรณีดังกล่าวบริษัทจะคืนเงินค่าสมัครเพื่อทำการจองที่ได้รับให้กับ “ผู้เช่า”
- “ผู้เช่า” และบริษัทจะไม่ทำการเรียกร้องใดๆระหว่างกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการยกเลิกการจองหรือความล้มเหลวในการสรุป “สัญญาเช่า” ยกเว้นตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อนี้และข้อถัดไป
ข้อ 5 (รถยนต์ที่เช่าทดแทน)
- หากบริษัทไม่สามารถที่จะจัดหา “รถยนต์ที่เช่า” ที่ตรงตามเงื่อนไขที่จองโดย “ผู้เช่า” เช่น ชนิดและประเภทของรถยนต์, อุปกรณ์เสริม, รถยนต์ที่มีการสูบบุหรี่หรือไม่มีการสูบบุหรี่, รายละเอียดทางเทคนิคของรถยนต์ ฯลฯ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “เงื่อนไข” ) บริษัทจะดำเนินการแจ้งให้ “ผู้เช่า” ทราบในทันที
- ในกรณีของวรรคก่อนหากบริษัทสามารถจัดหา “รถยนต์ที่เช่า” ได้ตาม “เงื่อนไข” อื่นๆ นอกเหนือจากเงื่อนไขที่ได้จองไว้บริษัทอาจดำเนินการเสนอให้เช่า “รถยนต์ที่เช่า” ให้กับ “ผู้เช่า” ภายใต้ “เงื่อนไข” ที่แตกต่างกัน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ) โดยไม่คำนึงถึงวรรค 4 และวรรค 5 ในข้อก่อนหน้านี้
- หาก “ผู้เช่า” ยอมรับข้อเสนอในวรรคก่อน บริษัทจะดำเนินการให้เช่า “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ภายใต้เงื่อนไขการเช่าเดียวกันกับเงื่อนไขที่มีผลบังคับใช้ในเวลาการจอง ยกเว้นกรณีไม่สามารถทำตามเงื่อนไขดังกล่าวเหล่านั้นได้ ในกรณีดังกล่าว “ผู้เช่า” จะต้องชำระอัตราค่าเช่าของ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” หรือ อัตราค่าเช่าของ “รถยนต์ที่เช่า” ที่ได้จอง ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
- หาก “ผู้เช่า” ปฏิเสธข้อเสนอในวรรค 2 จะถือว่าการจองถูกยกเลิกและวรรค 5 ข้างต้น จะมีผลบังคับใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับค่าสมัครเพื่อการจอง ฯลฯ
ข้อ 6 (ตัวแทนสำหรับบริการรับจอง)
- “ผู้เช่า” อาจสมัครเพื่อทำการจองได้ที่ศูนย์การจองโตโยต้าเรนท์อะคาร์, ตัวแทนท่องเที่ยว, บริษัทที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ตัวแทน”) ซึ่งให้บริการรับจองในนามของบริษัท
- หากยื่นใบสมัครกับ “ตัวแทน” ที่ระบุในวรรคก่อนหน้า คำร้องขอในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการจองจะต้องดำเนินการผ่าน “ตัวแทน” ที่ดำเนินการสมัครเพื่อทำการจองดังกล่าว
บทที่ 3 : การเช่ารถยนต์
ข้อ 7 (การสรุปสัญญาเช่า)
- “ผู้เช่า” และบริษัทจะสรุป “สัญญาเช่า” กับ “ผู้เช่า” โดย “ผู้เช่า” เป็นผู้ระบุเงื่อนไขที่จะเช่าและบริษัทเป็นผู้ระบุ ”เงื่อนไขการเช่า” ตาม “สัญญา” ตารางอัตรา ฯลฯ
- ในการสรุป “สัญญาเช่า” ที่ “ผู้ขับขี่” จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของ “ผู้ขับขี่” ที่กำหนดไว้ใน “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด
- จากข้อ 2 (10) และ (11) ของคำแนะนำพื้นฐานเกี่ยวกับรถยนต์ที่เช่าในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทจะร้องขอให้ “ผู้เช่า” แสดงใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของ “ผู้ขับขี่” ที่ได้รับมอบหมายจาก “ผู้เช่า” หรือสำเนาใบอนุญาตขับขี่ หากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อที่จะใส่ชื่อที่อยู่ประเภทของใบอนุญาตขับขี่และหมายเลขใบอนุญาตหรือแนบสำเนาใบอนุญาตขับขี่กับทะเบียนการเช่ารถยนต์ (ต้นฉบับใบเสร็จการเช่ารถยนต์) และใบรับรองการเช่าตามที่กำหนดในข้อ 13 ในกรณีดังกล่าวหาก “ผู้เช่า” เป็น “ผู้ขับขี่” “ผู้เช่า” ต้องแสดงใบอนุญาตขับขี่หรือสำเนาให้กับบริษัท หากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็น หาก “ผู้เช่า” ไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกันกับ “ผู้ขับขี่” “ผู้เช่า” ต้องให้ “ผู้ขับขี่” แสดงใบอนุญาตขับขี่หรือสำเนาให้กับบริษัทหากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็น
- ในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทอาจร้องขอให้ “ผู้เช่า” แสดงเอกสารระบุตัวตนอื่นๆนอกเหนือจากใบอนุญาตขับขี่และอาจทำสำเนาเอกสารดังกล่าว
- ในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทอาจร้องขอให้ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ให้หมายเลขติดต่อกรณีฉุกเฉินเช่นหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
- ในการสรุป “สัญญาเช่า” บริษัทอาจกำหนดวิธีการในการชำระเงินที่ “ผู้เช่า” สามารถใช้ได้เช่นบัตรเครดิต, เงินสด ฯลฯ
- หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามวรรค 5 ข้างต้น บริษัทอาจปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” หรือยกเลิกการจองของ “ผู้เช่า” ได้ ข้อกำหนดในข้อ 4 วรรค 5 เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับค่าสมัครเพื่อทำการจองจะถูกนำมาใช้ในกรณีดังกล่าว
ข้อ 8 (การปฏิเสธไม่ให้เช่า)
- หากรายการต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” บริษัทอาจปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” หรือยกเลิกการจองของ “ผู้เช่า” ได้ :
(1) หากเขา/เธอ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่;
(2) หากเขา/เธอ อยู่ภายใต้อิทธิพลของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์;
(3) หากเขา/เธอ แสดงอาการว่าอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งมึนเมาหรือยาเสพติด ฯลฯ;
(4) หากเขา/เธอ มีเด็กอยู่ในรถยนต์โดยที่ไม่มีเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก;
(5) หากเขา/เธอ มีทะเบียนรายชื่ออยู่ในระบบบริหารสนเทศของสมาคมรถเช่าแห่งชาติตามที่ระบุในข้อ 23 (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ระบบสมาคมรถเช่าแห่งชาติ”) หรือมีรายชื่ออยู่ในรายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวังที่ใช้ร่วมกันโดยโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่งสาขาต่างๆ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “รายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวัง”);
(6) หากเขา/เธอ ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดังกล่าวหรือถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรต่อต้านสังคมอื่นๆ ;
(7) หากเขา/เธอ กระทำการรุนแรงทั้งทางพฤติกรรม หรือด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือสร้างภาระที่เกินขอบเขตอันสมควรให้กับพนักงานหรือบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเกี่ยวกับการทำธุรกรรมกับบริษัท;
(8) หากเขา/เธอ ทำลายความไว้วางใจในบริษัทหรือรบกวนการทำกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทโดยการกระจายข้อมูลที่เป็นเท็จหรือใช้วิธีการฉ้อโกงหรือโดยการบังคับ ;
(9) หากเขา/เธอ กระทำการที่ฝ่าฝืน “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด; และ
(10) หากเขา/เธอ กระทำการใดๆที่บริษัทเห็นว่าไม่เหมาะสม
- แม้จะมีบทบัญญัติในวรรคก่อนบริษัทอาจปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” หรือยกเลิกการจองของ “ผู้เช่า” ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ :
(1) หากบริษัทไม่มี “รถยนต์ที่เช่า” ว่างสำหรับให้บริการ;
(2) หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่มีเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีที่จะนั่งไปด้วยในรถยนต์
-
ในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับค่าสมัครเพื่อทำการจองเมื่อบริษัทได้ปฏิเสธที่จะสรุป “สัญญาเช่า” ตามบทบัญญัติในวรรค 2 ข้างต้นให้นำบทบัญญัติในข้อ 4 วรรค 3 - 6 มาใช้แทน
ข้อ 9 (ความสำเร็จของสัญญาเช่า)
- “สัญญาเช่า” จะมีผลบังคับใช้เมื่อ “ผู้เช่า” ได้ลงนามใน “สัญญาเช่า” และบริษัทได้ส่งมอบ “รถยนต์ที่เช่า” (รวมถึงอุปกรณ์เสริม : จะถูกนำมาใช้บังคับเช่นเดียวกันต่อจากนี้) ให้กับ “ผู้เช่า” ในกรณีนี้ค่าสมัครเพื่อทำการจองที่ชำระแล้วจะถูกนำไปคิดคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของอัตราค่าเช่า
- การส่งมอบ “รถยนต์ที่เช่า” ที่กล่าวถึงในวรรคก่อนจะมีขึ้นในสถานที่และวันที่และเวลาเริ่มต้นของการเช่าที่กำหนดในข้อ 2
ข้อ 10 (อัตราค่าเช่า)
- เมื่อการทำ “สัญญาเช่า” เสร็จสมบูรณ์ “ผู้เช่า” จะต้องชำระค่าเช่าตามอัตราที่ระบุไว้ในวรรคถัดไปให้กับบริษัท
- อัตราค่าเช่าจะต้องเป็นยอดรวมของจำนวนต่อไปนี้และบริษัทจะแสดงแต่ละจำนวนหรือจำนวนการอ้างอิงที่สอดคล้องกันในตารางอัตรา :
(1) อัตราขั้นพื้นฐาน (2) อัตราหักค่าชดเชย (3) อัตราอุปกรณ์พิเศษ (4) อัตราเที่ยวเดียว (5) อัตราน้ำมันเชื้อเพลิง (6) อัตราการกำหนดและรับส่งรถยนต์ (7) อัตราค่าบริการอื่นๆ
- อัตราขั้นพื้นฐานจะเป็นอัตราที่ได้แจ้งไว้กับหัวหน้าสำนักงานขนส่งท้องถิ่น, ผู้อำนวยการกองการขนส่งทางบกของเฮียวโกของการบริหารจัดการขนส่งของโกเบ, หรือผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งทางบกของสำนักงานทั่วไปของโอกินาวาซึ่งมีผลบังคับใช้ในเวลาของการเช่า “รถยนต์ที่เช่า”
- หากบริษัทมีการปรับอัตราค่าเช่าหลังจากเสร็จสิ้นการจองตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2 “ผู้เช่า” จะชำระค่าเช่าในอัตราที่ต่ำกว่าระหว่างอัตราค่าเช่าที่มีผลบังคับใช้ในเวลาที่ทำการจองเสร็จสิ้นและอัตราค่าเช่าในเวลาของการเช่า
ข้อ 11 (การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะเช่า)
เมื่อจะทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะเช่าตามที่ระบุไว้ในข้อ 7 หลังจากที่ได้ทำการสรุป “สัญญาเช่า” แล้ว “ผู้เช่า” จะต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อน
ข้อ 12 (การตรวจสอบและบำรุงรักษา)
-
บริษัทจะดำเนินการตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 47-2 (การตรวจสอบและบำรุงรักษารายวัน) และมาตรา 48 (การตรวจสอบและบำรุงรักษาตามปกติ) ของกฎหมายยานพาหนะขนส่งทางถนนและจะดำเนินการให้เช่า “รถยนต์ที่เช่า” ที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
- ในการเช่า “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ยืนยันว่า “รถยนต์ที่เช่า” ตรงตามเงื่อนไขที่จะเช่าโดยการตรวจสอบลักษณะภายนอกของรถและอุปกรณ์เสริมตามแผ่นตรวจสอบที่ระบุไว้แยกจากกันและยืนยันว่ารถยนต์มีการบำรุงรักษาที่ดี
ข้อ 13 (การออกและถือครองใบรับรองการเช่า)
-
เมื่อ “รถยนต์ที่เช่า” ถูกส่งมอบให้กับ “ผู้เช่า” บริษัทจะออกใบรับรองการเช่าให้กับ “ผู้เช่า” โดยมีเนื้อหาตามที่กำหนดโดยหัวหน้าสำนักงานขนส่งท้องถิ่น, ผู้อำนวยการกองการขนส่งทางบกของเฮียวโกของการบริหารจัดการขนส่งของโกเบ, หรือผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งทางบกของสำนักงานทั่วไปของโอกินาวาด้วยเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร (ซึ่งรวมถึงวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล ฯลฯ)
- ในระหว่างการใช้งาน “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องพกพา (ซึ่งรวมถึงการพกพาด้วยบันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์) ใบรับรองการเช่าที่ออกให้ตามความในวรรคก่อน
- หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ทำใบรับรองการเช่าสูญหาย เขา/เธอจะต้องแจ้งบริษัทให้ทราบในทันทีถึงการสูญหายของใบรับรองดังกล่าว
บทที่4:การใช้รถยนต์
ข้อ 14 (ความรับผิดชอบในการจัดการของผู้เช่า)
- “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะใช้และดูแลรักษา “รถยนต์ที่เช่า” เสมือนเป็นผู้จัดการที่เหมาะสมตั้งแต่เวลาที่ได้รับมอบ “รถยนต์ที่เช่า” จนถึงเวลาที่ส่งมอบกลับคืนให้กับบริษัท (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” )
- เมื่อใช้ “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนด, “สัญญา”, ข้อบังคับโดยละเอียด, คู่มือการใช้งานและคำแนะนำอื่นๆในการใช้งานที่นำเสนอโดยบริษัท
- เมื่อ "ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่" ได้ใช้เส้นทางซึ่งมีค่าใช้จ่าย เช่น ทางด่วน ฯลฯ, ที่จอดรถซึ่งมีค่าใช้จ่าย หรือบริการที่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างที่ใช้รถยนต์ "ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่" ต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าบริการเหล่านั้น ฯลฯ ให้กับผู้ให้บริการที่มีค่าใช้จ่ายดังกล่าวด้วยตนเอง
- หาก "ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่" ได้ใช้ระบบ ETC และบริษัทที่บริหารเส้นทางซึ่งมีค่าใช้จ่าย (ทางด่วน) ฯลฯ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "บริษัทที่บริหารเส้นทางซึ่งมีค่าใช้จ่าย (ทางด่วน) ฯลฯ") ได้ติดต่อสอบถาม ฯลฯ เข้ามาทางบริษัทเกี่ยวกับค่าบริการเส้นทางซึ่งมีค่าใช้จ่าย ฯลฯ ซึ่ง “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ยังไม่ได้ชำระ บริษัทจะสามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ให้กับบริษัทที่บริหารเส้นทางซึ่งมีค่าใช้จ่าย (ทางด่วน) ฯลฯ ได้โดยถือว่า “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้
ข้อ 15 (การตรวจสอบและบำรุงรักษารายวัน)
“ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ต้องดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษารายวันตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 47 - 2 (การตรวจสอบและบำรุงรักษารายวัน) ของกฎหมายยานพาหนะขนส่งทางถนนโดยทำการตรวจสอบ “รถยนต์ที่เช่า” เป็นประจำทุกวันก่อนที่จะเริ่มใช้งาน “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน”
ข้อ 16 (การกระทำที่ต้องห้าม)
- “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องไม่กระทำการดังต่อไปนี้ “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” :
(1) ใช้รถยนต์ที่เช่าสำหรับธุรกิจบริการขนส่งรถยนต์หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆที่คล้ายคลึงกันโดยไม่ได้รับความยินยอมและการอนุมัติจากบริษัท ฯลฯ ตามกฎหมายการขนส่งทางถนน;
(2) ใช้ “รถยนต์ที่เช่า” เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือขับ “รถยนต์ที่เช่า” โดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ “ผู้ขับขี่” ที่กำหนดไว้ในข้อ 7;
(3) ให้เช่าช่วง “รถยนต์ที่เช่า” ให้บุคคลที่สามใช้หรือกระทำการอื่นๆเช่นนำ “รถยนต์ที่เช่า” ไปใช้เป็นหลักประกัน;
(4) ปลอมแปลงหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของ “รถยนต์ที่เช่า” หรือเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของ “รถยนต์ที่เช่า” โดยการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนโฉมใหม่;
(5) ใช้ “รถยนต์ที่เช่า” สำหรับการทดสอบหรือการแข่งขันประเภทใดๆ (รวมถึงกิจกรรมใดๆที่ถือว่าเป็น “การแข่งขัน” โดยบริษัท) หรือในการลากจูงหรือผลักดันยานพาหนะอื่นๆโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท;
(6) ใช้ “รถยนต์ที่เช่า” ในการละเมิดกฎหมายและข้อกำหนดหรือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสาธารณะและศีลธรรม;
(7) ยกเลิกประกันอุบัติเหตุสำหรับ “รถยนต์ที่เช่า” โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท;
(8) นำ “รถยนต์ที่เช่า” ออกนอกประเทศญี่ปุ่น; หรือ
(9) กระทำการอื่นใดที่เป็นการละเมิดเงื่อนไขในการจะเช่าหรือ “เงื่อนไขการเช่า” ที่กำหนดไว้ในข้อ 7
ข้อ 17 (การจอดรถที่ผิดกฎหมาย)
- หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จอด “รถยนต์ที่เช่า” ผิดกฎหมายซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายจราจร เขา/เธอจะรายงานให้ตำรวจที่มีอำนาจในเขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทราบในทันทีหลังจากที่จอดรถผิดกฎหมาย (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า“ตำรวจในพื้นที่”) และจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าปรับเช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการลากจูง, การจัดเก็บและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎจราจร (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า“การจัดการการละเมิด”)
- เมื่อได้รับการแจ้งเรื่องการจอดรถที่ผิดกฎหมายของ “รถยนต์ที่เช่า” จากตำรวจ บริษัทจะแจ้งให้ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ทราบและสั่งให้เขา/เธอ ทำการโยกย้าย “รถยนต์ที่เช่า” ในทันทีและรายงานให้ตำรวจในพื้นที่ให้ดำเนินการจัดการกับการละเมิดกฎก่อนที่จะหมดอายุระยะเวลาการเช่าหรือตามเวลาที่ได้รับคำสั่งจากบริษัทและ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้หาก “รถยนต์ที่เช่า” ได้รับการโยกย้ายโดยตำรวจบริษัทอาจไปรับ “รถยนต์ที่เช่า” จากตำรวจเองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท
- หลังจากที่ให้คำสั่งตามวรรคก่อนบริษัทจะยืนยันสถานะของการจัดการการละเมิดผ่านการแจ้งให้ทราบถึงการละเมิดกฎจราจรและแจ้งการชำระเงิน/ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท; และหากการละเมิดยังไม่ได้รับการจัดการบริษัทจะให้คำสั่งตามวรรคก่อนซ้ำหลายครั้งกับ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จนกว่าการละเมิดจะได้รับการจัดการเรียบร้อย หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในวรรคก่อน บริษัทอาจยกเลิกสัญญาเช่าในทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือเรียกร้องและร้องขอให้ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” กลับในทันที “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะลงนามในเอกสารที่บริษัทกำหนดโดยเขา/เธอจะยอมรับข้อเท็จจริงในการจอดรถผิดกฎหมาย และเขา/เธอจะรายงานแจ้งตำรวจและปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ฝ่าฝืน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “จดหมายรับทราบ”)
- แม้จะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวที่อ้างถึงในตอนต้นของ “สัญญา” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ตกลงที่จะส่งเอกสารต่างๆให้กับคณะกรรมาธิการความปลอดภัยสาธารณะเช่นจดหมายคำอธิบายตามที่กำหนดในมาตรา 51 - 4 วรรค 6 ของกฎหมายการจราจร, “จดหมายรับทราบ” และใบรับรองการเช่าและจะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยการส่งเอกสารต่างๆที่มีข้อมูลส่วนตัวให้กับตำรวจเช่น “จดหมายรับทราบ” และใบรับรองการเช่า หากบริษัทเห็นว่ามีความจำเป็น
- หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ยังดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการละเมิดไม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อถึงเวลาที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนและหากบริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการค้นหา “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” หรือรถยนต์ที่เช่า (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายในการค้นหา”) หรือหากบริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการลากจูง, การจัดเก็บและการมารับรถยนต์ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายในการจัดการยานพาหนะ”) กรณีนี้ “ผู้เช่า” จะต้องชำระค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ให้กับบริษัทภายในวันที่ครบกำหนดซึ่งจะกำหนดโดยบริษัท:
(1) จำนวนเงินที่สอดคล้องกับค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมาย
(2) เบี้ยปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายซึ่งจะถูกกำหนดไว้ที่ "การจอดรถที่ผิดกฎหมาย"ใน (https://rent.toyota.co.jp/global_th/drive/parking.html) ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “เบี้ยปรับและค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมาย” พร้อมกับจำนวนเงินที่สอดคล้องกับค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายใน (1) ด้านบน
(3) ค่าใช้จ่ายในการค้นหาและค่าใช้จ่ายในการจัดการยานพาหนะ
- หลังจาก “ผู้เช่า” ได้ชำระค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายกล่าวตามบทบัญญัติของวรรคก่อนให้กับบริษัทแล้ว และหากบริษัทได้รับเงินค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายคืน เนื่องจากได้มีการชำระค่าปรับสำหรับจอดรถผิดกฎหมายดังกล่าวแล้ว หรือมีการฟ้องร้องหรือคดีความถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลครอบครัว บริษัทจะคืนเบี้ยปรับและค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายดังกล่าวให้กับ “ผู้เช่า”
- เมื่อบริษัทได้รับคำสั่งให้ชำระค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายตามวรรคก่อน หรือเมื่อ "ผู้เช่า" ไม่ชำระเงินที่ถูกเรียกเก็บเต็มจำนวนซึ่งกำหนดไว้ในวรรคเดียวกันภายในวันที่ทางบริษัทกำหนด บริษัทจะดำเนินมาตรการ เช่น บันทึกชื่อ,วันเดือนปีเกิด และหมายเลขใบอนุญาตขับขี่ ฯลฯ ลงในระบบสมาคมรถเช่าแห่งชาติ ฯลฯ โดยถือว่า “ผู้เช่า” ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้
ข้อ 18 (ระบบ GPS)
- ในบางกรณี อาจมีการติดตั้งระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ระบบ GPS”) ไว้ที่รถยนต์ที่เช่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ยินยอมให้ทำการบันทึกข้อมูลตำแหน่งปัจจุบัน เส้นทางที่สัญจร ฯลฯ ของรถยนต์ที่เช่าลงในระบบที่กำหนดโดยบริษัท และยินยอมให้บริษัทใช้ข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกดังกล่าวนั้น สำหรับวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ :
(1) เพื่อตรวจสอบว่าได้ส่งคืนรถยนต์ที่เช่าไว้ที่สถานที่ที่กำหนดแล้ว ในตอนที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลง
(2) เพื่อตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันของรถยนต์ที่เช่า ตามที่ได้ระบุไว้ในรายการใดรายการหนึ่งของวรรค 1 ในข้อ 24 และกรณีอื่นๆที่เห็นว่ามีความจำเป็นต่อการจัดการรถยนต์ที่เช่าหรือเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาเช่า ฯลฯ
(3) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่มอบให้แก่ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
- จะถือว่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ตกลงยินยอมที่จะให้ข้อมูลที่บันทึกไว้ในวรรคก่อนให้แก่โตโยต้า มอเตอร์ส ในรูปแบบที่ได้ดัดแปลงจนไม่สามารถระบุ หรือเจาะจงบุคคลที่เป็น“ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และให้โตโยต้า มอเตอร์ส นำข้อมูลที่บันทึกไปใช้เพื่อค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีในการสร้างระบบคมนาคม และการสร้างแผนที่
- หากบริษัทถูกขอให้เปิดเผยข้อมูลตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือได้รับคำสั่งหรือมีการร้องขอจากศาล หน่วยงานราชการ องค์การมหาชนอื่นๆ ให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งได้บันทึกไว้ด้วยระบบ GPS ในวรรค 1 “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” จะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลนี้เท่าที่จำเป็น
ข้อ 19 (กล้องติดรถยนต์)
- ในบางกรณี อาจมีการติดตั้งกล้องติดรถยนต์ไว้ที่รถยนต์ที่เช่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ยินยอมให้ทำการบันทึกสถานการณ์การขับรถของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และยินยอมให้บริษัทใช้ข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกดังกล่าวนั้น สำหรับวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ :
(1) เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ในตอนที่เกิดอุบัติเหตุ ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
(2) เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การขับรถของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็นต่อการจัดการรถยนต์ที่เช่าหรือเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาเช่า ฯลฯ
(3) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่มอบให้แก่ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
- จะถือว่า “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ตกลงยินยอมที่จะให้ข้อมูลที่บันทึกไว้ในวรรคก่อนให้แก่โตโยต้า มอเตอร์ส ในรูปแบบที่ได้ดัดแปลงจนไม่สามารถระบุ หรือเจาะจงบุคคลที่เป็น“ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” และให้โตโยต้า มอเตอร์ส นำข้อมูลที่บันทึกไปใช้เพื่อค้นคว้าพัฒนาการขับขี่อัตโนมัติ เทคโนโลยีในการเดินหน้าอย่างปลอดภัยและการสร้างแผนที่
- หากบริษัทถูกขอให้เปิดเผยข้อมูลตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือได้รับคำสั่งหรือมีการร้องขอจากศาล หน่วยงานราชการ องค์การมหาชนอื่นๆ ให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งได้บันทึกไว้ด้วยกล้องติดรถยนต์ในวรรค 1 “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” จะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลนี้เท่าที่จำเป็น
ข้อ 20 (บริการเช่าบัตร ETC)
หาก "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" จะใช้บริการเช่าบัตร ETC จะต้องใช้บริการโดยทำการตกลงเรื่องที่ระบุด้านล่างนี้
(1) ค่าผ่านทางทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาการใช้งานจะได้รับการคำนวณตามข้อมูลที่บันทึกไว้ในชิปวงจรภายในบัตร ETC เมื่อส่งคืนรถยนต์ที่เช่า
*การปรับยอดค่าธรรมเนียมและส่วนลดต่างๆ บางส่วนอาจไม่มีการบันทึกลงในชิปวงจร
(การปรับยอดค่าธรรมเนียมการเชื่อมต่อเส้นทางซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางและส่วนลด ETC สำหรับผู้ให้บริการบางราย)
(2) หากพบในภายหลังว่ามีค่าผ่านทางที่ยังไม่ชำระ ยอดดังกล่าวจะถูกคำนวณเป็นค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ในกรณีต่อไปนี้
- หากพบค่าธรรมเนียมการใช้งานที่ไม่มีการรายงาน
- หากไม่สามารถตรวจสอบบันทึกการเดินทางหรือค่าผ่านทางได้เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับบัตร ETC หรือเครื่องปรับยอดค่าธรรมเนียม
- หากส่งคืนรถให้กับสาขาโตโยต้าเรนท์อะลีสโดยไม่สามารถตรวจสอบบันทึกการเดินทางได้ด้วยเหตุผลบางประการ
(3) หากบัตร ETC สูญหายหรือถูกขโมย ฯลฯ "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" จะต้องติดต่อบริษัท รวมถึง "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับบริษัทสำหรับความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้งานผิดวัตถุประสงค์โดยบุคคลอื่น ฯลฯ หลังจากที่บัตรสูญหายหรือถูกขโมย
(4) "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการปัญหาใดๆ ที่ถือเป็นความผิดพลาด ฯลฯ ของ "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" และบริษัทจะไม่รับผิดชอบใดๆ (อย่างไรก็ตามไม่รวมปัญหาที่ระบุได้ว่าเป็นผลมาจากอุบัติเหตุจราจร)
(5) "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" ไม่สามารถให้บุคคลอื่นยืมบัตร ETC ได้
(6) หาก "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" ไม่ส่งคืนรถยนต์ที่เช่าและบัตร ETC เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่าตามที่ได้วางแผนไว้ "ผู้เช่า" และ "ผู้ขับขี่" ยินยอมให้บริษัทขอให้ผู้ให้บริการระงับการใช้งานบัตร ETC ที่เช่าไป
(7) หากผู้ให้บริการร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บัตร ETC (แม้ว่าจะสิ้นสุดการเช่าแล้ว) โตโยต้าเรนท์อะคาร์จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ตามคำร้องขอ รวมถึงชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลติดต่อ
บทที่ 5 : การส่งคืนรถยนต์
ข้อ 21 (ความรับผิดชอบของผู้เช่าในการส่งคืนรถยนต์)
- “ผู้เช่า” จะต้องส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” กลับให้กับบริษัทในสถานที่ที่กำหนดให้ส่งคืนภายในวันหมดอายุระยะเวลาเช่า
- หาก “ผู้เช่า” ไม่สามารถที่จะส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” ภายในระยะเวลาเช่าอันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือเหตุสุดวิสัยขา/เธอจะต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้าและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท
ข้อ 22 (การตรวจสอบรถยนต์ที่เช่า)
- “ผู้เช่า” จะส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” ต่อหน้าบริษัทโดยให้อยู่ในสภาพเช่นเดียวกับเมื่อเวลาที่ถูกส่งมอบยกเว้นการเสื่อมสภาพและการสึกหรออันเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติของ “รถยนต์ที่เช่า” หรือการชำรุดที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจาก"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"
- ก่อนที่จะส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” “ผู้เช่า” ยืนยันว่าจะไม่มีสิ่งของส่วนตัวของ “ผู้เช่า” “ผู้ขับขี่” หรือผู้โดยสารตกค้างอยู่ภายใน “รถยนต์ที่เช่า” บริษัทจะไม่มีภาระผูกพันใดๆในการดูแลสิ่งของส่วนตัวหลังจากที่ “รถยนต์ที่เช่า” ได้ถูกส่งคืนกลับให้บริษัทแล้ว
ข้อ 23 (เวลาในการส่งคืนรถยนต์ที่เช่า)
- หากระยะเวลาการเช่าถูกขยายออกไปตามข้อ 11 “ผู้เช่า” จะต้องจ่ายอัตราค่าเช่าที่สอดคล้องกับระยะเวลาการเช่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงหรือจ่ายอัตราค่าเช่ารวมก่อนการเปลี่ยนแปลงและอัตราสำหรับระยะเวลาการเช่าเพิ่มเติมแล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
- หาก “ผู้เช่า” ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” หลังจากเปลี่ยนระยะเวลาการเช่าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทตามที่กำหนดในข้อ 11 เขา/เธอจะต้องจ่ายเบี้ยปรับเท่ากับสองเท่าของอัตราที่สอดคล้องกับชั่วโมงเพิ่มเติมของระยะเวลาเช่านอกเหนือไปจากอัตราที่กำหนดในวรรคก่อน
ข้อ 24 (สถานที่ส่งมอบคืนรถของเร้นท์อะคาร์)
- หาก “ผู้เช่า” เปลี่ยนสถานที่ที่กำหนดในการส่งคืนตามข้อ 11 เขา/เธอจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการส่งต่อรถยนต์ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายในการส่งต่อ”)
- หาก “ผู้เช่า” ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” ไปยังสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สถานที่ที่กำหนดในการส่งคืนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทตามที่กำหนดในข้อ 11 เขา/เธอจะต้องจ่ายเบี้ยปรับเท่ากับสองเท่าของ “ค่าใช้จ่ายในการส่งต่อ”
ข้อ 25 (มาตรการที่ต้องดำเนินการหากไม่ได้รับรถยนต์ที่เช่าคืน)
- หากเงื่อนไขใดๆ ต่อไปนี้สามารถใช้ได้กับ “ผู้เช่า” บริษัทจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อยืนยันตำแหน่งที่ตั้งของ “รถยนต์ที่เช่า” โดยการใช้ระบบ GPS พร้อมทั้ง จัดส่งรายงานความเสียหายของรถยนต์ที่ไม่ได้รับคืนให้กับสมาคมรถเช่าแห่งชาติ หรือบันทึกข้อมูลลงในระบบสมาคมรถเช่าแห่งชาติ ฯลฯ นอกเหนือจากการดำเนินการตามกฎหมาย เช่น การยื่นฟ้องคดีทางอาญากับ “ผู้เช่า” โดยถือว่า “ผู้เช่า” ยินยอมให้ดำเนินมาตรการดังกล่าวได้
(1) หาก “ผู้เช่า” ไม่ตอบสนองต่อการร้องขอของบริษัทในการส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” แม้ว่าหลังจากระยะเวลาการเช่าได้สิ้นสุดลงแล้ว; และ
(2) หากพิจารณาแล้วว่า “รถยนต์ที่เช่า” ไม่สามารถส่งคืนได้เนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ของ “ผู้เช่า”
- หากเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งของวรรคก่อนสามารถใช้ได้ “ผู้เช่า” จะชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดในการค้นหา “ผู้เช่า” และมารับ “รถยนต์ที่เช่า”ให้กับบริษัท
ข้อ 26 (ข้อตกลงในการลงทะเบียนและการใช้ข้อมูลการเช่า)
- แม้จะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวที่อ้างถึงในตอนต้นของ “สัญญา” หากเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งสามารถใช้ได้กับ “ผู้เช่า” จะยินยอมให้ลงทะเบียนข้อมูลที่ตรงไปตรงมาบนพื้นฐานของความเป็นจริงของการเช่า รวมถึงชื่อ,วันเดือนปีเกิด และหมายเลขใบอนุญาตขับขี่ ฯลฯ ของ“ผู้เช่า” (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ข้อมูลการเช่า”) ในระบบของสมาคมรถเช่าแห่งชาติและรายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวังสำหรับระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี
(1) หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ไม่สามารถจ่ายเบี้ยปรับและค่าปรับสำหรับการจอดรถผิดกฎหมายที่ระบุไว้ในข้อ 17 วรรค 5 ให้กับบริษัทได้ภายในวันที่ครบกำหนดซึ่งกำหนดโดยบริษัท; และ
(2) หากรายการใดรายการหนึ่งของวรรค 1 ในข้อก่อนหน้านี้สามารถใช้ได้
- แม้จะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวที่อ้างถึงในตอนต้นของ “สัญญา” “ผู้เช่า” ตกลงยินยอมในเรื่องดังต่อไปนี้:
(1) ข้อมูลการเช่าที่ลงทะเบียนกับระบบสมาคมรถเช่าแห่งชาติจะถูกใช้โดยสมาคมรถเช่าแห่งชาติและสมาชิกของสมาคมรถเช่าแห่งชาติในแต่ละจังหวัดเช่นเดียวกับบริษัทสมาชิกต่างๆ
(2) ข้อมูลการเช่าที่ลงทะเบียนกับรายชื่อผู้เช่าที่ต้องเฝ้าระวังจะถูกใช้โดยโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันและโตโยต้าเรนทัลแอนด์ลีสซิ่งสาขาต่างๆ
บทที่ 6 : มาตรการต่างๆในกรณีที่มีการชำรุดเสียหายเกิดอุบัติเหตุหรือถูกโจรกรรม
ข้อ 27 (การชำรุดเสียหายของรถยนต์ที่เช่า)
หากมีการชำรุดเสียหายของ “รถยนต์ที่เช่า” หรือปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้น “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะหยุดการใช้งานรถยนต์ในทันทีแจ้งให้บริษัททราบและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท
ข้อ 28 (อุบัติเหตุ)
- หากมีอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับ “รถยนต์ที่เช่า” เกิดขึ้น “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะหยุดการใช้งานรถยนต์ในทันทีและดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้นอกเหนือไปจากมาตรการที่จำเป็นตามกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุ:
(1) รายงานรายละเอียดของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นให้บริษัททราบในทันทีและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท;
(2) หาก “รถยนต์ที่เช่า” ต้องได้รับการซ่อมแซมตามคำสั่งในรายการก่อนหน้านี้ ให้ดำเนินการนำรถยนต์เข้าซ่อมที่สาขาของบริษัทหรือสาขาที่กำหนดให้ โดยบริษัทยกเว้นกรณีที่ได้รับอนุมัติจากบริษัท
(3) ให้ความร่วมมือกับบริษัทและบริษัทประกันภัยที่ทำสัญญากับบริษัทในการตรวจสอบการเกิดอุบัติเหตุและยื่นเอกสารทั้งหมดที่ร้องขอโดยบริษัทและบริษัทประกันภัย โดยทันที
(4) ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อนจะดำเนินการตกลงหาข้อยุติหรือข้อตกลงอื่นๆกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
- นอกเหนือไปจากเรื่องที่ระบุไว้ในวรรคก่อน “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะจัดการและระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนความรับผิดชอบของตน
- บริษัทจะให้คำแนะนำกับ “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” เกี่ยวกับการจัดการอุบัติเหตุและจะให้ความร่วมมือในการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับอุบัติเหตุ
- สำหรับรถยนต์ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์บันทึกการขับขี่หรืออุปกรณ์บันทึกอุบัติเหตุสำหรับรถยนต์ หรือทั้งสองอย่างไว้แล้ว บริษัทจะบันทึกสถานการณ์ในตอนที่เกิดการกระทบกระเทือน หรือมีการเบรคกระทันหันเกิดขึ้น ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ในตอนที่เกิดอุบัติเหตุ
- บริษัทจะดำเนินมาตรการ เช่น ทำการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกตามที่ระบุในวรรคก่อน ในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น
ข้อ 29 (การโจรกรรม)
หาก “รถยนต์ที่เช่า” ถูกโจรกรรมหรือได้รับความเสียหาย “ในช่วงระยะเวลาในการใช้งาน” “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะต้องดำเนินการตามมาตรการต่อไปนี้:
(1) รายงานเรื่องไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดโดยทันที
(2) รายงานสภาพความเสียหายของรถยนต์ให้กับบริษัทโดยทันทีและปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท
(3) ให้ความร่วมมือกับบริษัทและบริษัทประกันภัยที่ทำสัญญากับบริษัทในการสืบสวนการขโมย/ความเสียหาย และ ยื่นเอกสารทั้งหมดที่ร้องขอโดยบริษัทและบริษัทประกันภัยโดยไม่ชักช้า
ข้อ 30 (การยกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากรถยนต์ไม่สามารถใช้ได้)
- หาก “รถยนต์ที่เช่า” ใช้ไม่ได้ในช่วงระยะเวลาการเช่าเนื่องจากการชำรุดเสียหายเกิดอุบัติเหตุถูกโจรกรรมหรือปัญหาอื่นๆ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า“การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ“) สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง
- ในกรณีของวรรคก่อน “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการมารับและการซ่อมแซม “รถยนต์ที่เช่า” ในขณะที่บริษัทจะไม่คืนค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ โดยมีเงื่อนไขว่า “การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ” ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดที่ระบุไว้ในวรรค 3 หรือ วรรค 5
- หาก “การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ” เกิดจากข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนที่รถยนต์จะถูกเช่า ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการเช่ารถ “ผู้เช่า” อาจจะได้รับการเสนอ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” จากบริษัท ให้ใช้ข้อ 5 วรรค 3 บังคับโดยอนุโลมกับเงื่อนไขของบทบัญญัติของ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน”
- หาก “ผู้เช่า” ไม่ได้รับการเสนอ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ที่กล่าวถึงในวรรคก่อนบริษัทจะคืนเงินค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้เต็มจำนวนให้กับ “ผู้เช่า” มีการบังคับใช้เช่นเดียวกันเมื่อไม่สามารถนำเสนอ “รถยนต์ที่เช่าทดแทน” ให้ได้
- หากไม่สามารถระบุสาเหตุ “การชำรุดเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ” ว่ามาจาก “ผู้เช่า” "ผู้ขับขี่" หรือบริษัท บริษัทจะคืนเงินที่เหลือจากการเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ให้กับ “ผู้เช่า” โดยหักจำนวนของอัตราค่าเช่าสำหรับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการเช่าไปจนถึงสิ้นสุด “สัญญาเช่า”
- ยกเว้นสำหรับมาตรการตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ “ผู้เช่า” และ “ผู้ขับขี่” ไม่อาจทำการเรียกร้องใดๆกับบริษัทได้ ยกเว้นในกรณีที่กำหนดไว้ในข้อนี้ในเรื่องเกี่ยวกับความเสียหายใดๆที่เกิดจากการไม่สามารถที่จะใช้ “รถยนต์ที่เช่า” ได้
บทที่ 7 : การชดใช้ค่าเสียหายและค่าชดเชย
ข้อ 31 (การชดใช้ค่าเสียหายและค่าชดเชยสำหรับธุรกิจโดยผู้เช่า)
- หาก “ผู้เช่า”หรือ “ผู้ขับขี่” ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆกับรถเช่าของบริษัท (รวมถึงรถยนต์ที่เช่าทดแทน ตามข้อบังคับมาตราที่ 37) ในช่วงระยะเวลาของการใช้รถเช่าที่ยืมไป "ผู้เช่า"จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัท จะยกเว้นในกรณีที่ไม่สามารถระบุว่าเป็นเหตุผลที่เกิดจาก "ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"
- หากความเสียหายที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ดังที่กล่าวถึงในวรรคก่อนเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุหรือการโจรกรรมและส่งผลให้บริษัทไม่สามารถที่จะใช้ “รถยนต์ที่เช่า” ได้เพราะการชำรุดเสียหายเนื่องจากเหตุผลอันเนื่องมาจาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” หรือเพราะ “รถยนต์ที่เช่า” มีรอยตำหนิหรือมีกลิ่นเหม็น ผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าความเสียหายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในตารางอัตรา
- ในระหว่างที่ใช้รถยนต์ที่เช่าไป (รวมถึงรถยนต์ที่เช่าทดแทนตามข้อบังคับมาตราที่ 37) จะถือว่า"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่" จะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากความประมาทหรือความเลินเล่อของ"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"ให้กับบุคลลที่สาม หรือบริษัท
- แม้จะมีบทบัญญัติในวรรคก่อน “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยความเสียหายใดๆที่เกิดจากภัยพิบัติที่ถูกกำหนดให้เป็นภัยพิบัติใหญ่ตามมาตรา 2 ของพระราชบัญญัติความช่วยเหลือด้านการเงินพิเศษสำหรับภัยพิบัติใหญ่ (กฎหมายเลขที่ 150 ปี ค.ศ. 1962) (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ภัยพิบัติใหญ่”) หากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ“รถยนต์ที่เช่า”ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญหายการชำรุดเสียหายหรือผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยในภูมิภาคที่ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ที่ประสบภัยพิบัติ เว้นแต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อร้ายแรงของ"ผู้เช่า" หรือ "ผู้ขับขี่"
ข้อ 32 (การประกันภัย)
- หาก “ผู้เช่า” ต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด และรวมถึงกรณีที่"ผู้ขับขี่" ต้องรับผิดชอบชดใช้ตามมาตรา 3 ในวรรคก่อน เงินประกันสูงสุดถึงวงเงินดังต่อไปนี้จะถูกจ่ายให้กับเขา/เธอตามกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุที่สรุปโดยบริษัทสำหรับ “รถยนต์ที่เช่า” ทั้งนี้ การจ่ายเงินประกันดังกล่าวไม่ได้ตกอยู่ภายใต้การยกเว้นในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
(1) ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายส่วนบุคคล: ไม่จำกัดต่อคน (รวมถึงประกันภัยความรับผิดภาคบังคับของรถยนต์)
(2) ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สิน: ไม่จำกัด (ค่าความเสียหายส่วนแรก 50,000 เยน ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง)
(3) ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อรถยนต์: สูงสุดตามมูลค่าตลาด (ค่าความเสียหายส่วนแรก 50,000 เยน แต่ 100,000 เยนสำหรับรถโดยสาร/รถบรรทุกขนาดใหญ่)
(4) ค่าสินไหมทดแทนความบาดเจ็บส่วนบุคคล: สูงสุดไม่เกิน 30,000,000 เยน ต่อคน
- “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของความเสียหายที่เงินประกันจะไม่จ่ายหรือความเสียหายที่เกินจำนวนเงินประกันที่จะจ่ายตามบทบัญญัติในวรรคก่อน
- ในกรณีที่บริษัทมีการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายของความเสียหายที่ต้องรับผิดชอบโดย “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” ตามบทบัญญัติในวรรคก่อน “ผู้เช่า”หรือ “ผู้ขับขี่” จะจ่ายเงินคืนให้กับบริษัทโดยทันทีสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าว
- ค่าใช้จ่ายของความเสียหายที่สอดคล้องกับค่าความเสียหายส่วนแรกของเงินประกันที่ระบุไว้ในวรรค 1 จะต้องรับผิดชอบโดยบริษัทหาก “ผู้เช่า” ได้จ่ายเงินค่าความเสียหายส่วนแรกให้กับบริษัทล่วงหน้าแล้ว; จะต้องรับผิดชอบโดย “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” หากเขา/เธอยังไม่ได้ชำระค่าความเสียหายส่วนแรกไว้
- จำนวนเงินที่เท่ากับเบี้ยประกันสำหรับกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุที่กำหนดในวรรค 1 จะถูกรวมอยู่ในอัตราค่าเช่า
บทที่ 8 : การยกเลิก
ข้อ 33 (การยกเลิกสัญญาเช่า)
หาก “ผู้เช่า” ละเมิด “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดในช่วงระยะเวลาการเช่า บริษัทอาจยกเลิก “สัญญาเช่า” โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือออกหมายเรียกและร้องขอให้ส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า” กลับในทันที ในกรณีดังกล่าว บริษัทจะคืนเงินที่เหลือจากค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ให้กับ “ผู้เช่า” โดยหักจำนวนของอัตราค่าเช่าสำหรับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการเช่าไปจนถึงสิ้นสุดการเช่า และค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการยกเลิกสัญญา
ข้อ 34 (การยกเลิกโดยสมัครใจ)
- “ผู้เช่า” อาจยกเลิก “สัญญาเช่า” ในช่วงระยะเวลาการเช่าได้โดยได้รับความยินยอมจากบริษัทในกรณีดังกล่าวบริษัทจะคืนเงินค่าเช่าที่ได้รับก่อนหน้านี้ให้กับ “ผู้เช่า” โดยหักจำนวนของอัตราค่าเช่าสำหรับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการเช่าไปจนถึงการส่งคืน “รถยนต์ที่เช่า”
- เมื่อ “สัญญาเช่า” ถูกยกเลิกตามที่อธิบายไว้ในวรรคก่อน “ผู้เช่า” จะชำระเงินค่าธรรมเนียมการยกเลิกต่อไปนี้ให้กับบริษัท : ค่าธรรมเนียมการยกเลิก = { (อัตราขั้นพื้นฐานสำหรับระยะเวลาการเช่าที่กำหนด) - (อัตราขั้นพื้นฐานสำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันเริ่มต้นของการเช่าจนถึงการส่งคืนรถยนต์) } × 50%
บทที่ 9 : บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ 35 (การหักล้างภาระผูกพันร่วม)
หากบริษัทมีภาระผูกพันทางการเงินกับ “ผู้เช่า” ตาม “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดบริษัทอาจหักล้างภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวออกจากภาระผูกพันทางการเงินที่ “ผู้เช่า” มีต่อบริษัทได้
ข้อ 36 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
“ผู้เช่า” จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (รวมถึงภาษีบำรุงท้องที่) ที่มีการเรียกเก็บจากการทำธุรกรรมภายใต้ “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดให้กับบริษัท
ข้อ 37 (ค่าปรับในการชำระเงินล่าช้า)
หาก “ผู้เช่า” หรือ “ผู้ขับขี่” และบริษัทมีการเพิกเฉยหรือละเลยในการดำเนินการตามภาระผูกพันทางการเงินภายใต้ “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด ฝ่ายนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับในการชำระเงินล่าช้าให้กับอีกฝ่ายในอัตราดอกเบี้ย 14.6% ต่อปี
ข้อ 38 (ตัวแทนเช่า)
หาก “รถยนต์ที่เช่า” ถูกเช่าจากบริษัทอื่นในนามของบริษัท (บริษัทดังกล่าวซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ตัวแทนเช่า”) คำว่า “บริษัท” ที่ใช้ใน “สัญญา” จะถูกแทนที่ด้วย “ตัวแทนเช่า” แต่ไม่รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “การจัดการข้อมูลส่วนตัว” ข้อ12, ข้อ16, ข้อ 26 -28 (แต่หมายเลขติดต่อในกรณีของการชำรุดเสียหาย อุบัติเหตุ โจรกรรม ฯลฯ จะเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทและ “ตัวแทนเช่า”) และ ข้อ 39
ข้อ 39 (กฎหมายที่ใช้บังคับ)
- กฎหมายที่ใช้บังคับคือกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น
- ในกรณีที่มีข้อความขัดแย้งกันระหว่างสัญญาภาษาญี่ปุ่นและสัญญาในภาษาอื่นๆเช่นสัญญาภาษาอังกฤษให้ยึดฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก
ข้อ 40 (ให้ข้อมูลในเรื่องที่สำคัญ)
- บริษัทได้นำเสนอข้อมูลต่างๆ ของหัวข้อสำคัญจาก"สัญญา" และข้อบังคับโดยละเอียด ได้แก่
รายละเอียดการรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายและการรับผิดชอบชดเชยค่าเสียโอกาสทางการค้า, รายละเอียดและเงื่อนไขของระบบประกันและการชดเชยของทางบริษัท, มาตรการที่ "ผู้เช่า" ควรดำเนินการเวลาที่รถเกิดการขัดข้องเสียหาย, อุบัติเหตุ หรือถูกขโมย, มาตรการสำหรับกรณีที่จอดรถโดยฝ่าฝืนกฎหมาย, มาตรการสำหรับกรณีที่ส่งคืนรถล่าช้า ฯลฯ ในรูปแบบที่ชัดเจนและเรียบง่ายให้กับ "ผู้เช่า" ก่อนให้เช่ายืมรถแล้ว
- "ผู้เช่า" ได้ทำความเข้าใจรายละเอียดของ "สัญญา" และข้อบังคับโดยละเอียดเป็นอย่างดีแล้ว
ข้อ 41 (การแสดงสัญญาและข้อบังคับโดยละเอียด)
- บริษัทอาจมีการแก้ไข “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดหรืออาจจะจัดทำข้อบังคับโดยละเอียดของ “สัญญา” แยกต่างหากโดยจะประกาศไว้ที่โฮมเพจของบริษัทไว้ล่วงหน้า
- หากมีการแก้ไข “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียดเหล่านี้หรือมีการจัดทำข้อบังคับโดยละเอียดของ “สัญญา” แยก บริษัทจะจัดแสดงไว้ในสำนักงานขาย รวมทั้งอธิบายไว้ในแผ่นพับและตารางอัตราที่ออกโดยบริษัทและปิดประกาศไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท มีการบังคับใช้เช่นเดียวกันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของ “สัญญา” หรือข้อบังคับโดยละเอียดดังกล่าว
ข้อ 42 (ศาลที่มีเขตอำนาจ)
หากมีข้อพิพาทใดๆเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตาม “สัญญา” และข้อบังคับโดยละเอียด ศาลที่มีเขตอำนาจในเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทจะเป็นศาลที่่มีอำนาจเด็ดขาดในการวินิจฉัยและตัดสินเกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้
ข้อกำหนดเพิ่มเติมและเงื่อนไขจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2023